วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์

1. ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์

2. ซอฟต์แวร์มีทั้งหมด 3 ประเภท
3. ซอฟต์แวร์ระบบ คือ โปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ

4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องของตามที่เราต้องการ ใช้เพื่อการสืบค้นและเชื่อมโยงกับระบบอินเทอร์เน็ต เน้นการใช้งานสะดวก

5. ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง

6.ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
คำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละโปรแกรมจะถูกออกแบบสำหรับใช้กับแต่ละงานแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้มากมาย เพราะว่ามีการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ดังที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

7. การทำงานของคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องบอกขั้นตอนการดำเนินการให้คอมพิวเตอร์ทราบ ซึ่งการที่จะบอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้และทำงานให้ถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง และสื่อกลางนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าเปิดและปิด ดังนั้นผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์จึงใช้เลข 0 และเลข 1 เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสคำสั่งระบบเลขฐานสองนี้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบเป็นชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานนี้ว่า ภาษาเครื่อง การใช้ภาษาเครื่องในคอมพิวเตอร์ค่อนข้างจะยุ่งยากจึงได้มีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยค ข้อความ ภาษานี้เรียกว่า ภาษาระดับสูง ในการทำงานคอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงเป็นภาษาเครื่องอีกครั้งเพื่อทำงานตามคำสั่ง

8.ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงาน หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ แบ่งออกได้ดังนี้
1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
คือ ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย
2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้อง
3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ
ทรัพยากร (Resource) คือ สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้ เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (Memory) อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล (Input/Output)